About the Journal

 ความเป็นมาและนโยบาย

บทความวิชาการมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นรูปแบบอันเป็นสากลในการเผยแพร่ความรู้ ความคิด  และพัฒนาการที่ได้จากการศึกษา  ค้นคว้า  วิจัย  ในแง่มุมต่าง ๆ ของวิทยาการอันหลากหลาย ไปยังนักวิชาการ  นักวิจัย  นักศึกษา  ตลอดจนนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป  กองเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ได้ตระหนักถึงความสำคัญของบทความวิชาการที่มีคุณภาพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  ที่มีต่อการเรียนการสอนและการวิจัยในระดับอุดมศึกษา  ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและทันสมัยไปสู่นักวิชาชีพที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป  จึงได้จัดทำวารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ขึ้นมา  เพื่อส่งเสริมการผลิตและเผยแพร่บทความวิชาการในลักษณะของ  1บทความปริทัศน์ (Review Article)  ทั้งในรูปแบบของการเรียบเรียงผลงานวิจัยที่ผ่านมา และการเรียบเรียงสรุปความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านใดด้านหนึ่ง  หรือ  บทความแนะนำองค์ความรู้ในสาขาการวิจัยที่น่าสนใจ (Tutorial Article)   2) บทความวิชาการที่ให้ความรู้อันเป็นประโยชน์แก่นักวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์   โดยมีกำหนดการตีพิมพ์และเผยแพร่ฉบับแรกในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558  เป็นวารสารราย 6 เดือน ปีละ 2 ฉบับ ในเดือนมกราคม และเดือนกรกฎาคมของทุกปี และในปี พ.ศ. 2567 กำหนดการจัดพิมพ์เป็นราย 4 เดือน  หรือ ปีละ 3 ฉบับ ในเดือนมกราคม-เมษายน , พฤษภาคม-สิงหาคม และเดือนกันยายน-ธันวาคมของทุกปี  และให้มีการประเมินบทความทุกเรื่องโดยผู้ทรงคุณวุฒิก่อนพิจารณานำลงตีพิมพ์เผยแพร่

 วัตถุประสงค์
 
1) เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของบทความวิชาการและวิจัยที่มี
    คุณภาพตามขอบเขตที่วารสารกำหนด
 

2) เพื่อประโยชน์ต่อ การเรียนการสอน การวิจัย ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

 

3) เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนที่สนใจโดยทั่วไป

 

      4) เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพในด้านต่าง ๆ ตามขอบเขตที่วารสารกำหนด

 รายละเอียดการจัดทำวารสาร
 
  • ประเภทของงานตีพิมพ์
        วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม   รับตีพิมพ์ผลงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในประเภทใดประเภทหนึ่ง ต่อไปนี้
   1) บทความปริทัศน์ (Review Article) ทั้งในรูปแบบของการเรียบเรียงผลงานวิจัยที่ผ่านมา และการเรียบเรียงสรุปความก้าวหน้า
     ทางเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านใดด้านหนึ่ง หรือบทความแนะนำองค์ความรู้ในสาขาการวิจัยที่น่าสนใจ (Tutorial Article)
 
   2) บทความวิชาการที่ให้ความรู้อันเป็นประโยชน์แก่นักวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือประชาชนทั่วไป
   3บทความวิจัยด้านนวัตกรรมการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
 

 

  •  ขอบเขตของบทความวิชาการ
  1) งานวิจัยและบทความทางวิชาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  2) งานวิจัยและบทความในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้
  3) งานวิจัยและบทความด้านอื่น ๆ ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั่วประเทศ
   
 
  • กระบวนการ Review         
          บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ จะต้องเป็นบทความต้นฉบับ ซึ่งไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารอื่นใดมาก่อน และเป็นข้อคิดเห็นของผู้ส่งบทความเท่านั้น โดยจะได้รับการพิจารณาและการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (peer reviewer) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน อย่างน้อย 3 ท่าน ต่อ 1 บทความ ในลักษณะ double-blinded
           
        >>> ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความวิชาการ : (ไม่ได้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใดๆ ในทุกขั้นตอน) <<<
 
  • รูปแบบการจัดเอกสารและความยาวของบทความ
     -  รูปแบบการจัดเอกสาร   เป็นไปตามที่กองบรรณาธิการกำหนดขึ้น
     -  ความยาวของบทความ   มีความยาวไม่เกิน 15 (สิบห้า)หน้า  ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
   
 
  • กำหนดการรับและตีพิมพ์ผลงาน
 

   - ปีที่ 1 ฉบับปฐมฤกษ์  เดือน มกราคม 2558 – มิถุนายน 2558

 

   - ปีที่ 2  ฉบับแรก เดือน มกราคม      ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม ของทุกปี
     
    - ปีที่ 10 ฉบับแรก เดือน มกราคม-เมษายน   ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม   ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน-ธันวาคม ของทุกปี 

    (ในปี พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป ,  กำหนดการจัดพิมพ์เป็นราย 4 เดือน  หรือ ปีละ 3 ฉบับ ในเดือนมกราคม-เมษายน , พฤษภาคม-สิงหาคม และเดือนกันยายน-ธันวาคม ของทุกปี)

 

   - จำนวนครั้งในการตีพิมพ์                   ปีละ 3 ฉบับ  (ตีพิมพ์ราย 4 เดือน)

 

   - จำนวนบทความที่ตีพิมพ์                   ฉบับละ  4-8 เรื่อง  (รับทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

 

   - จำนวนเล่มในการจัดพิมพ์                 ISSN 3027-7280 (Online)  : วารสารออนไลน์